คำอธิบาย
พระปิดตาจ้าวสมุทร รุ่นแรก หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2527 เป็นพระปิดตามหาอุดที่ทำจากตะกั่วอวนฉลามแหก ปลุกเสกอย่างเข้มขลังในเรือกลางทะเล 5 ไตรมาส
หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ท่านสืบสายตรงวิชามาจาก หลวงปู่เปี่ยม วัดเกาะหลัก ปรมาจารย์ผู้เป็นหนึ่งในเกจิ 108 รูป ที่เข้าพิธีปลุกเสกพระที่วัดราชบพิธในช่วงปี 2481 ซึ่งเป็นพิธีใหญ่แห่งยุค วัตถุมงคลทางสายของท่านมักจะทำจากตะกั่วอวน ด้วยว่าโบราณาจารย์ถือว่าตะกั่วอวนนี้เป็นของดีในตัว เมื่อนำมาปลุกเสกตามหลักวิชาจนดีแล้ว จะมีผลทางคงกระพันมหาอุตม์ จะนำไปคาดใช้เป็นลูกสะกดคู่กับตะกรุด หรือนำไปลงอักขระเลขยันต์แล้วหล่อหลอมออกมาเป็นพระเครื่องรูปต่างๆก็ตามแต่คณาจารย์ท่านจะดำริทำ
หลวงพ่อเกตุ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาทั้งสูตรลบผงเมตตามหานิยมและวิชาแคล้วคลาดคงกระพัน โดยเฉพาะพระเวทย์วิชาหนึ่งซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดเกาะหลัก นั่นก็คือการลงอักขระยันต์ลูกตะกั่วอวนจ้าวสมุทร อันมีพิธีกรรมและขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ซึ่งผู้ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมอันสำคัญนี้จากหลวงปู่เปี่ยมมีเพียงรูปเดียว คือ หลวงพ่อเกตุนั่นเอง
การสร้างลูกตะกั่วอวนจ้าวสมุทรยากมาก ใครที่เอ่ยปากขอเท่านั้นท่านจึงจะทำให้ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ในทันทีต้องย้อนกลับมาเอาภายหลังเนื่องจากมีกรรมวิธีและขั้นตอนที่ยุ่งยาก
ขั้นแรกต้องหาอวนทะเลลึก ที่เรียกว่า “อวนฉลามแหก” อันเป็นอวนที่ฉลามทำลายและแหวกหนีไปได้ ในสมัยที่หลวงปู่เปี่ยมยังมีชีวิตอยู่นั้น มักบอกเสมอว่าหากอยากได้อวนฉลามแหก ต้องไปเอาแถวหลังเขาตาเหลือก ในอ่าวมะนาวเพราะที่นั่นเป็นดงฉลามร้าย และอวนที่ได้จากที่นั่นมีอาถรรพ์มาก
ครั้นได้ลูกตะกั่วอวนมาแล้วจะต้องทำการจารลงอักขระยันต์ในท้องสมุทร โดยมีฤกษ์ยามในการลงอักขระยันต์ครั้งหนึ่งๆ โดยหลวงพ่อเกตุได้ทำลูกตะกั่วอวนจ้าวสมุทรสะสมไว้จำนวนหนึ่งขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เก็บไว้ในกุฏิเพื่อจะนำมาเป็นชนวนในการจัดสร้างพระปิดตาจ้าวสมุทร อันเป็นเนื้อตะกั่วอวนล้วนๆนั่นเอง และส่วนหนึ่งยังเป็นมวลสารเก่าของหลวงปู่เปี่ยมผู้เป็นอาจารย์อีกด้วย
จากนั้นได้นำไปปลุกเสกกันในเรือกลางทะเลเป็น เวลาถึงห้าไตรมาสเลยกำหนดตามฤกษ์ยาม จึงนับว่าเป็นพระปิดตามหาอุดที่มีมวลสารและการสร้างที่ไม่ธรรมดา มีผู้นำไปใช้พบประสบการณ์มากมาย ผู้สนใจไม่ควรพลาด