คำอธิบาย
พระเสาชิงช้า รุ่นแรก พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์ฯ จ.กรุงเทพฯ เนื้อขาว หน้ากากกะไหล่ทอง จัดสร้างในวาระบูรณะปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า เมื่อปี 2550 พระดี มวลสารดี พิธีใหญ่ทั้งพิธีพราหมณ์ และพิธีสงฆ์ โดยเสาชิงช้าถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงแข็งแรงของบ้านเมือง การบูรณะปฏิสังขรณ์เสาชิงช้าใหม่ในครั้งนี้ถือเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งคาดว่าเสาชิงช้านี้จะอยู่คู่บ้านคู่เมืองต่อไปอีกนานนับร้อยปีจึงจะมีโอกาสแห่งการบูรณะและฉลองเสาชิงช้าครั้งต่อไป ดังนั้นเพื่อระลึกถึงวาระสำคัญอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ กรุงเทพมหานครจึงได้จัดสร้าง “พระเสาชิงช้า” ให้ประชาชนชาวไทยได้มีไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นที่ระลึก
โดยความศักดิ์สิทธิ์ของพระเสาชิงช้า มีความพิเศษตรงที่มวลสารที่นำมาจัดสร้างนั้น ได้ทำพิธีบวงสรวงขอพลีมาจากเสาชิงช้าต้นเก่า และมวลสารของเสาชิงช้าต้นใหม่ซึ่งเป็นไม้สักทองอายุกว่า 100 ปี นำมาบดละเอียดเป็นส่วนผสมหลัก รวมกับมวลสารที่เป็นมงคลอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งรวบรวมมาจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 วัด โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและพระเกจิอาจารย์ต่างๆร่วมกันเขียนยันต์ลงผง ทั้งผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช และมวลสารจากการจัดสร้างวัตถุมงคลในวโรกาสที่สำคัญ ได้แก่
90 พรรษาสมเด็จย่า
60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72 พรรษาพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ปลุกเสกในวันที่ 16 กรกฏาคม 2550 ณ วัดสุทัศน์ฯ พิธีมหาพุทธาภิเษก-มหาเทวาภิเษก วันที่ 26 กรกฎาคม 2550 ณ.บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร พระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศร่วมปลุกเสกนับ 100 รูป พระเสาชิงช้านี้จะเป็นรุ่นแรก และรุ่นเดียว เพราะจะมีการบูรณะอีกทีก็คงอีกนาน