คำอธิบาย
พระเนื้อหยก พิมพ์พระพุทธ (หน้าใหญ่นิยม) หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล จ.กรุงเทพฯ ปี 2536 เมื่อครั้งสร้างพระพุทธรูปหยกองค์ใหญ่ที่วัดธรรมมงคล มีหยกบางส่วนที่ได้มาจากการแกะสลักพระหยกใหญ่ ทางวัดจึงได้นำมาให้ช่างแกะสลักเป็นพระองค์เล็กไว้ให้ผู้ศรัทธาได้นำไปบูชากัน
พิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 4 มิถุนายน ปี 2536 นอกจากหลวงพ่อวิริยังค์ท่านได้อธิษฐานจิตแล้ว ยังมีคณาจารย์สายพระป่า ศิษย์หลวงปู่มั่นมากมายหลายรูป มาร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย อาทิ หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) กรุงเทพฯ, หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ฯลฯ เป็นต้น
โดยคุณสมบัติของหินอัญมณี ในศาสตร์ทางจีน หยกจะให้พลังงานทางเย็น ส่งผลดีต่อหัวใจแก่ผู้สวมใส่ ประกอบกับพุทธคุณที่พระคณาจารย์ทั้งหลายได้อธิษฐานจิตลงสู่องค์พระหยก จึงส่งผลให้เป็นสิริมงคลผู้บูชาสวมใส่อีกด้วย พระสภาพสมบูรณ์เดิมๆ
ประวัติโดยคร่าวของพระพุทธมงคลธรรมศรีไทย พระพุทธรูปหยกองค์ใหญ่ วัดธรรมมงคล
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้นิมิตเห็นหยกสีเขียวบริสุทธิ์ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ถือกำเนิดขึ้น (ซึ่งหลวงพ่อท่านใช้เวลารอคอยถึง 5 ปี) เวลาตีสามช่วงจำพรรษา เวลาเดียวกับที่ค้นพบหยกก้อนมหึมา น้ำหนัก 32 ตัน ที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ปี 2534 ขุดค้นพบโดยนายจอห์น สกัลเลอร์ ที่เหมืองทอง (สันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดหยกก้อนนี้คือยอดเขาคิงส์เม้าท์เท่น ซึ่งเคลื่อนตัวมาที่บ่อทองคำ คำนวณการเดินทางโดยประมาณ 8,000-10,000 ปี) เมื่อได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ จึงดำเนินการส่งลงเรือเพื่อนำมายังประเทศไทยในเดือนมกราคม ปี 2535 โดยเรือชื่อ “Luanhe” ถึงวัดธรรมมงคลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535
หยกก้อนนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 นำมาแกะสลักเป็นองค์พระพุทธรูป
ส่วนที่ 2 นำมาแกะสลักเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมอวโลกิเตศวร
ดำเนินการแกะสลักโดยช่างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอิตาลี ใช้เวลาทำนานถึง 12 เดือน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามว่า “พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย”
และมีหยกบางส่วนที่เหลือจากการแกะสลักพระองค์ใหญ่ จึงนำมาแกะสลักเป็นองค์เล็กๆ เพื่อให้สาธุชนที่เดินทางมาวัดธรรมมงคลได้บูชา สักการะเป็นมงคลติดตัว นับเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าน่าสะสมบูชาเป็นอย่างมาก